ราชธานีลิสซิ่ง (THANI) ตั้งแต่ต้นปีมีการเติบโตสินเชื่อได้ดีกว่าเป้าหมาย แต่จากการที่ภาครัฐได้มีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดมากขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้การขยายสินเชื่อของ THANI ต้องพิจารณาความเหมาะสมอย่างระมัดระวัง สำหรับ ธนชาตประกันภัย (TNI) ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องมาตลอดคือการเพิ่มช่องทางการขายให้หลากหลายมากยิ่งขึ้นและการขยายฐานลูกค้า เพื่อลดการพึ่งพาการขายผ่านช่องทางสาขาของธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) ลง และเพิ่มช่องทางการขายไปในช่องทางอื่น ๆ แต่ในส่วนของช่องทางสาขานั้น ได้มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมงานของ TNI และ TTB มีการวางระบบการขายและผึกอบรมพนักงาน TTB เพื่อให้ขายผลิตภัณฑ์ของ TNI ได้มากขึ้น ซึ่งก็ตรงกับความต้องการของ TTB ที่ต้องการขยายธุรกิจที่ได้รับรายได้ค่าธรรมเนียม ส่วนหลักทรัพย์ธนชาต (TNS) นั้น มีแผนที่จะเพิ่มความหลากหลายของรายได้ไปที่ผลิตภัณฑ์ที่อื่นนอกเหนือจากรายได้ค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายหลักทรัพย์มากขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่า Zeal สามารถเติบโตได้ดี ประกอบกับการควบคุมต้นทุน และการพยายามนำ Digital เข้ามาใช้เพื่อขยายตลาดในวงกว้างมากขึ้น ตอนนี้เริ่มต้น ดำเนินการสร้าง Application ต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าเปิดบัญชีได้ง่ายขึ้น เข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ซื้อขายได้สะดวกรวดเร็วขึ้น รับบริการต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เข้าไปร่วมจัดการวางแผนด้านการเงินกับบริษัทย่อย ส่งผลให้ทุกบริษัทมีโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่ง มีแหล่งในการระดมเงินที่หลากหลาย มีสัดส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาวที่เหมาะสม ลดการพึ่งพาเงินทุนจากบริษัทฯ ซึ่งเป็นนโยบายที่บริษัทฯ วางไว้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แต่ละบริษัทและเตรียมความพร้อมสำหรับการเติบโตในอนาคต
ธนชาต พลัส (T-Plus) ดำเนินธุรกิจการให้สินเชื่อที่มีหลักประกัน (Asset-based Finance) ประเภทอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจ Corporate Finance เน้นการหา Solution ให้กับลูกค้า และ T-Plus เองมีความยืดหยุ่นสูงกว่าสถาบันการเงินในการพิจารณาให้สินเชื่อแก่ลูกค้า โดยจะพิจารณาให้สินเชื่อตามศักยภาพของหลักประกัน และความสามารถในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของลูกค้า ซึ่งบริษัทฯ เล็งเห็นโอกาสในการทำธุรกิจนี้ เพื่อช่วยเหลือลูกค้า SME ขนาดกลางขึ้นไปภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ลูกค้าบางรายอาจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เนื่องจาก เป็นการให้สินเชื่อระยะสั้นถึงปานกลางประมาณ 2-3 ปี อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกันประมาณร้อยละ 50 – 60 ซึ่งบริษัทฯ คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะมียอดสินเชื่อคงค้างประมาณ 2,000 – 3,000 ล้านบาท และตั้งเป้าว่าจะเติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 2,000 ล้านบาท
บริษัทฯ มีความพยายามที่จะรักษาระดับของเงินปันผลที่จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นไว้ โดยคำนึงถึงผลการดำเนินงาน และการดำรงสภาพคล่องอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจในการลงทุนในหุ้นของบริษัทฯ ซึ่งปัจจุบันจากการประเมิน บริษัทฯ ยังมีความเชื่อมั่นว่ากำไรโดยรวมของบริษัทฯ จะเพียงพอที่จะรองรับการจ่ายเงินปันผลในอัตรา 3 บาทต่อหุ้น ได้ต่อไป
บริษัทฯ ยังไม่ได้ดำเนินการซื้อ NPA เข้ามาบริหารในช่วงนี้ แต่เนื่องจากบริษัทฯ ไม่ได้เป็นกลุ่มธุรกิจทางการเงินภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว NPA ที่บริษัทฯ มีอยู่บางรายการ บริษัทฯ มีแผนในการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มมูลค่า ศักยภาพและโอกาสในการขายทำกำไรในอนาคต สำหรับการซื้อ NPL นั้นมีการศึกษาและพิจารณาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่ตรงตามนโยบายของบริษัทฯ จึงยังไม่ตัดสินใจลงทุนในขณะนี้
ตามแผนธุรกิจแล้ว ทุกธุรกิจเป็นธุรกิจที่เติบโตของบริษัทฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้
บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลแบบ Progressive กล่าวคือจำนวนเงินปันผลต่อหุ้นที่จ่ายจะไม่น้อยกว่า ปีที่ผ่านมา โดยคำนึงถึงผลประกอบการควบคู่กันไป ซึ่งในอดีตบริษัทฯ จ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับปี 2563 คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานปี 2563 ในอัตราหุ้นละ 3 บาท โดยแบ่งเป็น เงินปันผลระหว่างกาลหุ้นละ 1.20 บาท ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติและจ่ายไปแล้ว เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 คงเหลือเงินปันผลที่ TCAP จะต้องจ่ายอีกในอัตราหุ้นละ 1.80 บาท รวมเป็นจำนวน 3.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นอัตราที่เท่ากับเงินปันผลของปีก่อนที่ไม่รวมเงินปันผลพิเศษ
บริษัทฯ ยังมีเงินสดคงเหลือจากการปรับโครงสร้างกิจการและการรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทยและธนาคารธนชาต ซึ่งบริษัทฯ ได้แจ้งให้ทราบว่าจะใช้เงินสดคงเหลือดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้มีความไม่แน่นอนในการลงทุน คณะกรรมการจึงมีนโยบายในการดำรงเงินสดสภาพคล่องไว้ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับบริษัทย่อย ในขณะนี้บริษัทฯ มีแผนในการทำธุรกิจการเงินใหม่ๆอยู่ และอยู่ระหว่างการเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ ซึ่งหากได้รับอนุมัติแล้วจะกลับมาเรียนแจ้งให้ทราบในวาระถัดไป ส่วนแผนการลงทุนนั้นกำลังรอโอกาสที่เหมาะสม ต้องมีการประเมินสถานการณ์แนวโน้มการแพร่ระบาดของ COVID-19 และประสิทธิภาพของวัคซีน รวมไปถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ สำหรับธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ บริษัทฯ กำลังรอดูโอกาสที่เหมาะสมในการลงทุนเพิ่มเติม เช่นเดียวกัน
บริษัทร่วมและบริษัทย่อยที่ต้องมีการตั้งสำรองหลักๆ มีอยู่ 2 บริษัท คือ บมจ. ราชธานีลิสซิ่ง (THANI) และ บมจ. ธนาคารทหารไทย (TMB) ซึ่งทั้ง 2 บริษัทมีการตั้งสำรองเงินให้สินเชื่อเป็นไปตามมาตรฐานบัญชี TFRS 9
บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลแบบ Progressive กล่าวคือ จำนวนเงินปันผลต่อหุ้นที่จ่ายจะไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา โดยคำนึงถึงผลประกอบการควบคู่กันไป ซึ่งในอดีตบริษัทฯ จ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับปีนี้ บริษัทฯ ยังคงนโยบายการจ่ายปันผลเช่นเดิม โดยในครึ่งปีแรกบริษัทฯ ได้ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 1.20 บาท ซึ่งเท่ากับอัตราเงินปันผลระหว่างกาลที่จ่ายของปีก่อน
บริษัทฯ ยังมีเงินสดคงเหลืออยู่ประมาณ 15,000-16,000 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้มีความไม่แน่นอนในการลงทุน คณะกรรมการจึงมีนโยบายในการดำรงเงินสดสภาพคล่องไว้ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับบริษัทย่อย ส่วนแผนการลงทุนนั้นกำลังรอโอกาสที่เหมาะสม ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลกระทบของ COVID-19 ได้ชัดเจนขึ้นในช่วงไตรมาส 3 และ ไตรมาส 4 ของปีนี้ สำหรับธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ คาดว่าช่วงปลายปี ธนาคารพาณิชย์จะทยอยขายออกมา ซึ่งก็เป็นจังหวะที่บริษัทฯ จะเข้าไปดำเนินการซื้อสินทรัพย์ดังกล่าวเข้ามาบริหาร
ธุรกิจประกันภัย โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ถึงแม้ว่ายอดขายรถยนต์ใหม่จะลดลง แต่ความต้องการรถยนต์เก่าปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้เบี้ยประกันภัยจากรถยนต์เก่ามีเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน อัตราการต่ออายุเบี้ยประกันภัยรถยนต์ผ่านช่องทาง Telesales ยังอยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้ยังขยายไปยังช่องทาง Non-bank ซึ่งสามารถเติบโตได้เป็นอย่างดี
สำหรับ THANI นั้นได้รับผลกระทบบ้างจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่จำนวนลูกค้าที่ขอพักชำระหนี้มีไม่มาก เนื่องจาก THANI มีลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวน้อยมาก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นรถบรรทุกขนส่งสินค้า สำหรับสถานการณ์ NPLs นั้น ยังอยู่ในสถานะที่ควบคุมได้ เนื่องจาก THANI มีความระมัดระวังและเข้มงวดมากขึ้นในการขยายธุรกิจ
บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลแบบ Progressive กล่าวคือ จำนวนเงินปันผลต่อหุ้นที่จ่ายจะไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งในอดีตบริษัทฯ จ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับปีนี้ บริษัทฯ ยังคงนโยบายการจ่ายปันผลเช่นเดิม โดยในครึ่งปีแรกบริษัทฯ ได้ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในอัตราหุ้นละ 1.20 บาท ซึ่งเท่ากับอัตราเงินปันผลระหว่างกาลที่จ่ายของปีก่อน
ปัจจุบันบริษัทฯซื้อหุ้นคืนครบเต็มจำนวนร้อยละ 10 ของทุนชำระแล้ว ตามมติคณะกรรมการ ดังนั้น การซื้อหุ้นคืนจึงไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนี้ ต้องรอจนกว่าจะครบกำหนด 1 ปี หลังจากที่ปิดโครงการ คณะกรรมการจึงสามารถมีมติซื้อหุ้นคืนได้อีกครั้งหนึ่ง สำหรับเรื่องการจ่ายเงินปันผลพิเศษ คงจะต้องให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณา ส่วนแผนการลงทุนนั้นขอเวลาศึกษาเรื่องการลงทุนเพิ่มเติม เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้มีความไม่แน่นอนในการลงทุน ฝ่ายจัดการจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบต่อไป
ปัจจุบัน (ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2563) บริษัทฯ ยังไม่ได้ซื้อหุ้น TMB เพิ่มเติมแต่อย่างใด โดยยังคงถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 20.12
เดิมบริษัทฯมีเป้าหมายที่จะทยอยซื้อหนี้ไม่มีหลักประกัน (Unsecured) ซึ่งหนี้ที่ไม่มีหลักประกันจะมีมูลค่าหนี้ไม่สูงมากนัก ดังนั้น จึงใช้เงินจำนวนไม่มาก แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่มีผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ฝ่ายจัดการต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้น จึงทำให้การดำเนินธุรกิจด้านนี้อาจจะต้องชะลอไปก่อน
บริษัทฯ ยังคงนโยบายการจ่ายเงินปันผลแบบ Progressive กล่าวคือ จำนวนเงินปันผลต่อหุ้นที่จ่ายในปีนี้จะไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งปีที่ผ่านมาเราจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานเป็นจำนวน 3.00 บาทต่อหุ้น แต่จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ธุรกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะต้องประเมินผลกระทบอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการให้ความสำคัญและดูแลผลประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้นอย่างเต็มความสามารถ
ตามกฎหมาย การรวมกิจการต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการรวมกิจการ และมีการรายงานความคืบหน้าเป็นรายเดือน มีทีมงานจากทั้ง 2 ธนาคาร ร่วมกันทำงานเพื่อให้มั่นใจได้ว่า การรวมกิจการนั้นจะสำเร็จลุล่วงได้ภายในปี 2564 ซึ่งปัจจุบันการรวมกิจการดังกล่าวยังเป็นไปตามแผนที่วางไว้เดิมโดยจะแล้วเสร็จกลางปี 2564
ผลการดำเนินของหลักทรัพย์ธนชาต (TNS) ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนธนชาตประกันภัย (TNI) ผลการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้เล็กน้อย เนื่องจากค่าเบี้ยประกันภัยลดลงจากยอดขายรถยนต์ที่ปรับตัวลดลง ซึ่ง TNI ได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มารองรับเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าและลดผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 สำหรับ THANI ได้รับผลกระทบจากสินเชื่อเช่าซื้อรถที่มีความต้องการลดลง ประกอบการกับ THANI ได้เพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ส่งผลให้สินเชื่อเติบโต ต่ำกว่าเป้าหมายแต่ THANI สามารถควบคุมผลกระทบให้อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้
โดยหลังจากที่ THANI เพิ่มทุนแล้ว อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E Ratio) จะลดลงมาจาก 5 เท่า เป็นต่ำกว่า 4 เท่า ส่งผลให้บริษัท มีความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงินที่เพิ่มขึ้น
TCAP สามารถลงทุนใน THANI ไปจนถึงร้อยละ 65 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ยังไม่ต้องทำ Tender Offer แต่อย่างไรก็ตามหากมีผู้ถือหุ้นอื่นไม่ซื้อและสัดส่วนการถือหุ้นของ TCAP ใน THANI เพิ่มขึ้นไปถึงระดับที่ต้องทำ Tender Offer ฝ่ายจัดการต้องขอไปศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติม และTCAP เชื่อว่าการเพิ่มทุนครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ถือหุ้นของ THANI ทุกราย
บริษัทฯ มีนโยบายที่จะขยายธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไปในด้านการซื้อหนี้ NPL รายย่อยที่ไม่มีหลักประกันมาบริหาร ซึ่งจะทยอยซื้อเข้ามาบริหารจัดการตามความเหมาะสม และต้องมีการลงทุนในระบบที่เหมาะกับการแก้หนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อยเนื่องจากระบบที่บริษัทฯ ใช้งานอยู่ขณะนี้ เป็นระบบที่เหมาะกับการแก้หนี้สำหรับลูกหนี้ธุรกิจ ส่วนเงินสดที่เหลือจากการซื้อหนี้รายย่อยมาบริหาร บริษัทฯ จะพิจารณานำไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมให้กับผู้ถือหุ้นต่อไป
สำหรับแผนการบริหารเงินสดที่ดำเนินการไปแล้วนั้น มี 2 รายการ รายการแรกเป็นการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลเป็นเงินปันผลพิเศษในอัตราหุ้นละ 4 บาท ซึ่งเป็นเงินทั้งสิ้น 4,583 ล้าน และรายการที่สองคือการซื้อหุ้นคืนในวงเงินไม่เกิน 6,000 ล้านบาท
เนื่องจาก TCAP ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 20 ใน TMB ดังนั้น เงินลงทุนใน TMB จึงเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วม ไม่มีการ Mark to Market และรับรู้กำไร/ขาดทุน ของ TMB ในรายการส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย
เรายังคงนโยบายการจ่ายเงินปันผลแบบ Progressive กล่าวคือ จำนวนเงินปันผลต่อหุ้นที่จ่ายในปีนี้จะไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา โดยพิจารณาถึงความสามารถในการจ่ายเงินปันผลในอนาคต
ผลิตภัณฑ์เช่าซื้อของ Merged Bank จะมีสินเชื่อรถยนต์ใหม่ รถยนต์ใช้แล้ว รถแลกเงิน และจำนำทะเบียน ส่วน THANI ผลิตภัณฑ์หลักคือสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุก รถจักรยานยนต์ Big Bike และ รถสปอร์ต Super Car ดังนั้นจึงไม่ทับซ้อนกัน
สินเชื่อด้อยคุณภาพที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเกิดจากสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่กลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นลูกหนีที่อยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ เกิดปัญหาขัดข้องบางประการในการปฎิบัติตามแผน จึงทำให้ถูกปรับลดชั้นลงไปเป็น NPL แต่เนื่องจากธนาคารได้ ทำการตั้งสำรองเต็มจำนวนไปแล้ว จึงไม่มีผลกระทบให้ธนาคารต้องดำเนินการตั้งสำรองเพิ่มเติมในขณะนี้ ลูกหนี้ กลุ่มดังกล่าวอยู่ระหว่างการดำเนินการปรับแผนและหากแผนที่ปรับได้รับการอนุมัติลูกหนี้กลุ่มนี้ก็จะกลับมาเป็น ลูกหนี้จัดชั้นปกติดตามเดิม NPL ก็จะปรับลดลงในอนาคต
ไตรมาส 4 จะเป็นช่วงที่ยอดขายรถยนต์ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากมีงาน Motor Expo ซึ่งคาดว่ายอดขายรถยนต์น่าจะ เติบโตกว่าในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา แต่อาจจะไม่เติบโตมากนักเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปีก่อนเนื่องจากฐานของ ไตรมาส 4 ปีก่อนค่อนข้างสูง สำหรับรถยนต์ใช้แล้วปัจจุบันมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเนื้องจากภาวะเศรษฐกิจที่ ชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการรถยนต์ใช้แล้วชะลอลง ประกอบกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ลดลง ส่งผลให้รถยึดมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอีกทั้ง เต็นท์รถก็ประมูลรถยึดลดลง ทำให้ผู้ประกอบการเช่าซื้อมีขาดทุนรถยึด เพิ่มสูงขึ้น สำหรับการบริหารจัดการเรื่องนี้ ธนาคารมีการจัดประเภทลูกค้า มีการ Focus ไปยังกลุ่มลูกค้าที่มี ศักยภาพสูง ทำให้ธนาคารยังคงสามารถควบคุมคุณภาพสินเชื่อเช่าซื้อได้เป็นอย่างดี และมีอัตราการเติบโตของ สินเชื่อเช่าซื้อได้พอสมควร อีกทั้งในด้านของการบริหารติดตามหนี้ธนาคารก็มีการบริหารอย่างเป็นระบบ และมี ประสิทธิภาพด้วยการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ อย่างรอบด้านรวมถึงมีการประชุมร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อรับทราบปัญหาและหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ปัจจุบันธนาคารมีการตั้งสำรองสูงกว่า Model ของ IFRS9 ซึ่งสำรองส่วนเกินนี้ธนาคารจะนำบางส่วนไปเป็นส่วน ของ Management Overlay ซึ่งไม่สามารถที่จะคลายออกได้ นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีหลักเกณฑ์ เรื่อง Provision Floor ซึ่งภายใน 3 ปี ทุกธนาคารจะต้องมีสำรองในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของสินเชื่อที่ไม่ด้อย คุณภาพและเงินลงทุน โดยกำหนดไว้ว่าปีแรกต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.33 ปีที่ 2 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.66 และปีที่ 3 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ ธนาคารมีสำรองสูงกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดีสำหรับนนโยบายใน อนาคตต้องขอเรียนว่า จากนี้ไปจนถึงวันโอนกิจการ(ประมาณกลางปี 2564) TBANK และTMB ก็จะใช้นโยบาย การตั้ง สำรองตาม Model ของแต่ละธนาคารแต่ระหว่างทางก็จะมีการปรับเป็นไปตามขั้น ตอนจนถึงวันที่รวมกิจการ กันเป็นธนาคารเดียว ซึ่งตอนนั้นก็จะมีนโยบายการตั้งสำรองเดียวกันในที่สุด
ธนาคารเชื่อว่าการกำหนดมาตรการในการควบคุมสินเชื่อรถยนต์ เป็นเรื่องที่ดีที่ ธปท. จะเข้ามาควบคุม เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับระบบธนาคารพาณิชย์ แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารคาดว่า มาตรการที่จะออกมาจะเป็นมาตรการเชิงนโยบายที่ดูแลการปล่อยสินเชื่อให้แต่ละธนาคารมีการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Lending) เพื่อให้การทำธุรกิจของธนาคารพาณิชย์เป็นธุรกิจธนาคารที่ยั่งยืน (Sustainable Banking) สำหรับการบริหารความเสี่ยงในเรื่องนี้ธนาคารมีการดำเนินการอย่างรัดกุม โดยการปล่อยสินเชื่อนั้น จะพิจารณาตาม Credit Scoring ของลูกค้าเป็นหลัก หากลูกค้ามี Credit Scoring ต่ำ ก็จะได้ LTV ต่ำ หรือถ้า Credit Scoring สูง LTV ก็จะสูง แต่โดยเฉลี่ยแล้ว LTV ของธนาคารจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 80-90 ในขณะที่การพิจารณาเรื่อง DSR ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หากลูกค้ามี Credit Scoring สูง DSR ก็จะสูงตามไปด้วย
ธนาคารได้มีการประเมินและทบทวนการตั้งสำรองของลูกค้าธนาคารทั้งหมดมาอย่างต่อเนื่อง และพบว่ามีลูกค้าบางกลุ่มที่ธนาคารมีความเชื่อมั่นว่ามีศักยภาพในการชำระหนี้สูง ธนาคารจึงมีการคลายสำรองออกมาบางส่วน ส่งผลให้ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา Credit Cost ของธนาคารจึงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ สำหรับ ในครึ่งหลังของปี 2562 Credit Cost ของธนาคารจะอยู่ประมาณร้อยละ 0.6 – 0.7 ตามกรอบที่วางไว้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 มีความเปราะบาง ในขณะที่ธนาคารเน้นการปล่อยสินเชื่อรายย่อย ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจ อาจจะส่งผลให้การตั้งสำรองของธนาคารเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยจากระดับปัจจุบัน
ธนาคารมองว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดปีนี้มีแนวโน้มคงที่ ส่วนสาเหตุที่ต้นทุนทางการเงินปรับเพิ่มขึ้นใน ไตรมาส 1 ที่ผ่านมาเป็นผลกระทบของการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) เมื่อปลายปี 2561 ซึ่งหากอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มคงที่ ธนาคารคาดว่าจะสามารถบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินของธนาคารให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมาได้
Credit Cost ของธนาคารในไตรมาส 1 ที่ผ่านมาอยู๋ที่ร้อยละ 0.47 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของปีนี้ที่ร้อยละ 0.60-0.70 เนื่องจากบริษัทย่อยของธนาคารมีการปรับสำรองบางรายการออกไปจึงเห็นว่า Credit Cost ค่อนข้างต่ำ แต่หากไม่รวมรายการพิเศษดังกล่าว Credit Cost ของธนาคารจะอยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับเป้าหมาย และคาดว่าทั้งปี 2562 ธนาคารจะรักษาระดับ Credit Cost ให้เป็นไปตามเป้าหมายได้
เนื่องจากการแข่งขันกันของผู้ประกอบการบางรายที่ปล่อยสินเชื่อ LTV เกินร้อยละ 100 เพื่อให้ได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นในหลายธุรกิจไม่เฉพาะแค่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เพียงอย่างเดียว ที่ผ่านมา ธปท.ได้ออกมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยไปแล้ว โดยมีผลเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562 ในส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อ ธนาคารได้มีการหารือกับ ธปท. ไปแล้วแต่ยังไม่ทราบว่า ธปท. จะมีมาตรการอะไรออกมาเพื่อควบคุมหรือไม่ ในขณะที่ธนาคารมีการบริหารความเสี่ยงในเรื่องนี้อย่างรัดกุม โดยการปล่อยสินเชื่อนั้น ธนาคารจะพิจารณาตาม Credit Rating ของลูกค้าเป็นหลัก หากลูกค้ามี Credit Rating ต่ำ ก็จะได้ LTV ต่ำ หรือถ้า Credit Rating ดี LTV ก็จะสูง แต่โดยเฉลี่ยแล้ว LTV ของธนาคารจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 80-90
ธนาคารคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ใหม่จะเติบโตในปีนี้ร้อยละ 2-3 การดำเนินกลยุทธ์สำหรับสินเชื่อรถยนต์ใหม่ ธนาคารจะเน้นที่การเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด จากความแข็งแกร่งของทีมขายของธนาคารที่ครอบคลุมทั่วประเทศ สำหรับสินเชื่อรถยนต์เก่า ธนาคารจะใช้วิธีการ Focus and Select โดยการคัดกรองเต๊นท์รถยนต์มือสองที่มีคุณภาพหนี้ที่ดี มีมาตรฐาน มีการการันตีคุณภาพรถ ในขณะที่สินเชื่อรถแลกเงิน (Cash Your Car: CYC) ในปีนี้ก็จะทำตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะสามารถที่จะเติบโตได้ดีต่อเนื่อง อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ คือสินเชื่อเล่มแลกเงิน (Cash Your Book: CYB) เป็นสินเชื่อใหม่ที่ธนาคารเริ่มเปิดตัวเมื่อกลางปีที่แล้ว ซึ่งออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย โดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ ทั้งหมด นี้ส่งผลให้สินเชื่อเช่าซื้อของธนาคารตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้เป็นอย่างดี
สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของธนาคารมีความเสี่ยงด้านเครดิตที่ค่อนข้างต่ำ โดยธนาคารให้ความสำคัญในเรื่อง Scoring ของลูกค้า มีการพัฒนา Scoring Model อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งกระบวนการอนุมัติสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ การติดตามหนี้อย่างใกล้ชิด ส่งผลให้ NPL ของสินเชื่อเช่าซื้ออยู่ในระดับต่ำ
ธนาคารมีการเตรียมการสำหรับเรื่องนี้มาโดยตลอด โดยหากพิจารณาผลประกอบการของธนาคารในปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าธนาคารมีกำไรก่อนภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของการดำเนินธุรกิจและการเติบโตของธุรกิจหลักของธนาคาร สำหรับปีนี้ ธนาคารคาดการณ์ว่าจากการเติบโตของสินเชื่อ จะส่งผลให้ธนาคารมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นทั้งรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ซึ่งกำไรก่อนภาษีของธนาคารจะเติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนเรื่องของ Credit Cost นั้นธนาคารคาดว่า Credit Cost ในปีนี้จะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.6-0.7 ตามที่เคยได้ให้ข้อมูลไว้
การตั้งสำรองของธนาคารในปัจจุบัน ธนาคารใช้ Model ที่คาดการณ์ไปในอนาคตถึงความเสียหายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) สำหรับการตั้งสำรองตามมาตรฐานรายงานการเงิน IFRS 9 ตามการคาดการณ์ธนาคารมีการตั้งสำรองที่เพียงพอ ดังนั้น Coverage Ratio ที่ระดับปัจจุบันของธนาคารยังอยู่ในระดับที่เพียงพอ
ที่ผ่านมามีการขยับเพิ่มดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อขึ้นบ้างเป็นลำดับ ขณะที่ธนาคารมุ่งเน้นเพิ่มขึ้นในการเติบโตของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสอง และสินเชื่อรถแลกเงิน (CYC) ในด้านของเงินฝากธนาคารมีการระดมเงินฝากระยะยาวเพิ่มขึ้นเพื่อบริหารจัดการ Duration Mismatch ระหว่างสินเชื่อเช่าซื้อที่เป็นอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่กับเงินรับฝาก ให้เงินรับฝากมีระยะเวลายาวขึ้น ประกอบกับ การทำ Interest Rate Swap ไปบางส่วนตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น
การเติบโตของ CASA ในส่วนแรก ธนาคารเพิ่มการเติบโตโดยการเชิญชวนลูกค้าที่มีสินเชื่อกับธนาคารให้เปิดบัญชีออมทรัพย์และจ่ายคืนค่างวดด้วยการตัดบัญชีทุกเดือน ซึ่งลูกค้าก็จะได้รับความสะดวกสบายในการชำระเงิน อีกส่วนหนึ่งเป็นลูกค้าที่ไม่ได้มีเงินกู้กับธนาคาร ธนาคารทำการส่งเสริมให้ลูกค้าใช้ Mobile Banking กับธนาคารและใช้เงินฝากออมทรัพย์ Ultra Saving ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปในการจูงใจลูกค้าให้ลูกค้าได้เริ่มใช้บริการกับธนาคาร และได้รับประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมจากการใช้บริการกับธนาคาร ซึ่งในอนาคต ลูกค้าก็จะเพิ่มการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการกับธนาคารมากขึ้น
ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ธนาคารบริหารจัดการค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวปรับตัวลดลง แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ธนาคารมุ่งเน้นคือการควบคุมอัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานต่อรายได้รวม (Cost to Income Ratio) ซึ่งนอกจากจะควบคุมในด้านค่าใช้จ่ายแล้ว ต้องมองถึงการเพิ่มรายได้ด้วย เพื่อให้ Cost to Income Ratio ลดลงให้อยู่ในระดับใกล้เคียงอุตสาหกรรม ในอดีตที่ผ่านมาเรามีนโยบายควบคุมค่าใช้จ่าย (Zero Growth Operating Expenses) ซึ่งธนาคารก็ทำได้ดีมาโดยตลอด ในขณะที่มีการปรับลดสาขาลงอย่างต่อเนื่อง แต่ท้ายที่สุดแล้วธนาคารต้องมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างรายได้ด้วยการใช้ทรัพยากรต่างๆที่ธนาคารลงทุนไปให้เกิดการสร้างธุรกิจให้มากขึ้น และที่สำคัญคือการลงทุนด้านระบบ Digital ซึ่งธนาคารดำเนินการแตกต่างจากคู่แข่ง เนื่องจากฐานลูกค้าหลักของธนาคารคือลูกค้าสินเชื่อรถยนต์ ธนาคารจึงมุ่งพัฒนาระบบ Digital ให้ตอบโจทย์ลูกค้าหลักของธนาคาร สำหรับแนวโน้มของค่าใช้จ่ายดังกล่าวในไตรมาส 4 น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 เนื่องจากในไตรมาส 4 จะเป็นฤดูที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนธุรกิจต่างๆ
การที่ NPL เพิ่มขึ้นแต่ Coverage Ratio ปรับลดลงเพียงเล็กน้อยนั้น เนื่องจาก NPL ที่เพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาเป็น NPL ที่เกิดจากสินเชื่อที่มีหลักประกัน ดังนั้นธนาคารจึงไม่ต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้น สำหรับการบริหารจัดการเรื่อง Coverage Ratio นั้น ธนาคารจะเทียบกับอุตสาหกรรมเป็นหลัก ประกอบกับการตั้งสำรองของธนาคารนั้นจะใช้ Model ที่คาดการณ์ไปในอนาคตถึงความสูญเสียต่างๆที่เกิดขึ้น (Expected Credit Loss) ว่าธนาคารมีการตั้งสำรองที่เพียงพอหรือไม่ ซึ่งจากการคาดการณ์แล้วธนาคารมีการตั้งสำรองที่เพียงพอ
ในครึ่งปีแรก สินเชื่อเช่าซื้อเติบโตได้ดี โดยเติบโตได้ร้อยละ 5.44 ซึ่งทั้งปีนี้ก็คาดว่าจะเติบโตได้ดีต่อเนื่อง ในขณะ ที่สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อ SME ในครึ่งปีแรกก็เติบโตได้บ้าง ซึ่งคาดว่าทั้งปีก็ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่ สำหรับสินเชื่อ Corporate นั้น อาจจะไม่สามารถเติบโตได้ตามที่ธนาคารคาดการณ์ไว้ เพราะธนาคารค่อนข้าง ระมัดระวังเรื่องความเสี่ยง ประกอบกับบริษัทขนาดใหญ่หลาย ๆ บริษัท หันไประดมทุนผ่านการออกตราสารหนี้ เพราะดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่ สินเชื่อของลูกค้าบริษัทขนาดใหญ่ มีอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ ธนาคารจึงนำสินเชื่อของลูกค้าบางส่วนมาออกเป็น ตราสารพาณิชย์ (Commercial Paper) แล้วขายออกไป ซึ่ง จะทำให้ธนาคารได้รับค่าธรรมเนียมจากการดำเนินการดังกล่าว โดยรวมแล้วทั้งปีก็ยังคาดว่าสินเชื่อจะเติบโตได้ ที่ร้อยละ 5.00 ตามเป้าหมาย
ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อตามความเสี่ยงของลูกค้าเป็นหลัก และที่ผ่านมาธนาคารก็มีการปรับเพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยที่เป็นอัตราพิเศษ (Special Rate) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างต่ำไปแล้ว ประกอบกับธนาคารได้มี การทยอยปรับโครงสร้างพอร์ตของสินเชื่อเช่าซื้อโดยมุ่งเน้นการปล่อยสินเชื่อรถยนต์เก่า สินเชื่อรถแลกเงิน และ สินเชื่อเล่มแลกเงิน เพิ่มขึ้น ซึ่งสินเชื่อเหล่านีมี้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าสินเชื่อรถยนต์ใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้อัตรา ดอกเบี้ยของสินเชื่อเช่าซื้อโดยรวมปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับ การทำ Interest Rate Swap ไปบางส่วนตั้งแต่ปีที่ ผ่านมา อีกทั้งการเพิ่มเงินฝากระยะยาว ซึ่งทั้งหมดนีก็เป็นการลดความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในภาวะที่อัตรา ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น
ธนาคารมีนโยบายการดำรง Coverage Ratio ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบัน ธนาคารมี Coverage Ratio อยู่ที่ร้อยละ 132.34 ในขณะที่ การตั้งสำรองสินเชื่อเช่าซื้อนั้น ธนาคารใช้วิธี Collective Approach ซึ่งครอบคลุมโอกาสที่สินเชื่อจะมีคุณภาพลดลงในอนาคต อีกทั้งสินเชื่อเช่าซื้อยังมีรถยนต์เป็น หลักประกัน ซึ่งระดับของ Coverage Ratio ที่เพียงพอสำหรับธนาคารนั้นอาจจะอยู่ในระดับที่น้อยกว่าที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารมี Coverage Ratio ที่สูงกว่าระดับที่เพียงพอก็เพื่อป้องกันความเสี่ยง และความผันผวนต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ผลประโยชน์ทางภาษีที่หมดไป ส่งผลให้ในครึ่งปีหลัง ธนาคารมีอัตราภาษีจ่ายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 แต่อย่างไร ก็ตาม หากพิจารณาผลประกอบการของธนาคาร จะเห็นได้ว่าธนาคารมีกำไรก่อนภาษีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของการดำเนินธุรกิจและการเติบโตของธุรกิจหลักของธนาคาร
โครงการซื้อหุ้นคืนที่เพิ่งประกาศไปนั้น มีวงเงินที่จะซื้อประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งส่งผลกระทบให้ Tier I ลดลง เล็กน้อย และในขณะนี้ Tier I ของ TCAP ตามงบการเงินรวมอยู่ที่ร้อยละ 12.61 ซึ่งเป็นระดับที่ค่อนข้างสูงในแง่ ของบริษัทแม่ของสถาบันการเงิน ดังนั้น ฝ่ายจัดการมองว่า โครงการซื้อหุ้นคืนคงไม่ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อ ฐานะทางการเงิน แต่น่าจะส่งผลในแง่บวกต่อราคาหุ้น
ธนาคารยังคงให้ความสำคัญในการเติบโตรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย โดยเฉพาะการมุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมในทุกกลุ่มธุรกิจของธนาคารอย่างต่อเนื่อง ทั้งธุรกิจจัดการกองทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจประกัน
ธนาคารยังคงควบคุมการบริหารจัดการสินเชื่อด้อยคุณภาพอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด มุ่งเน้นในการวิเคราะห์คุณภาพของลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ส่งผลให้ Credit Cost ของธนาคารมีแนวโน้มปรับลดลง
ธนาคารได้มุ่งเน้นการขยายตัวในสินเชื่อรายย่อยมากขึ้น เนื่องจากธนาคารเล็งเห็นว่าเป็นตลาดที่ยังมีศักยภาพในการเติบโตและธนาคารมีความสามารถในการแข่งขันได้ดี ซึ่งธนาคารคาดว่าสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อบ้านและสินเชื่อ SME ขนาดเล็ก จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของธนาคารในการเติบโตสินเชื่อ ด้านสินเชื่อเช่าซื้อที่เป็นรถใหม่ ธนาคารยังคงมุ่งเน้นขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนสินเชื่อรถมือสอง ธนาคารจะเพิ่มสัดส่วนมากขึ้น ด้วยการดำเนินกลยุทธ์ในการเป็นพันธมิตรกับเต๊นท์รถ แล้วจึงทำการจัดแบ่งเต๊นท์รถออกเป็นกลุ่มๆให้ชัดเจน เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ขณะที่สินเชื่อรถแลกเงิน ธนาคารได้เพิ่มกิจกรรมการทำการตลาดมากขึ้น รวมทั้งธนาคารได้ขยายช่องทางการขายเพิ่มเติมผ่าน telesales อีกด้วย นอกจากนี้ ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่สินเชื่อเล่มแลกเงิน คือ การขอสินเชื่อ โดยการจำนำทะเบียนรถยนต์ ซึ่งคาดว่าธนาคารจะได้รับดอกเบี้ยค่อนข้างดี จากการรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ธนาคารคาดว่าอัตราผลตอบแทนสำหรับสินเชื่อเช่าซื้อของธนาคารจะอยู่ในเกณฑ์ดี ท่ามกลางการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ธนาคารสามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดที่มากขึ้น ด้วยการวิเคราะห์ตลาดและลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้ ธนาคารคาดว่าสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยจะเพิ่มขึ้นเป็น 74-75% ใน 3-5 ปีข้างหน้าจากปัจจุบันที่มีอยู่ที่ประมาณ 71-72% ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ ธนาคารจะมุ่งเน้นในเรื่องการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมให้มากขึ้นผ่านการทำธุรกิจวาณิชธนกิจ
ธนาคารได้ให้ความสำคัญในการแบ่งกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านเงินฝากให้มีความหลากหลายและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในทุกกลุ่มให้มากที่สุด รวมทั้งธนาคารได้เพิ่มการทำโฆษณาและการตลาดเพื่อเข้าถึงลูกค้าในแต่ละกลุ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารมุ่งพัฒนาดิจิตอลแบงกิ้งให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมทางการเงินที่เป็นฟังก์ชั่นพื้นฐานได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ลูกค้าทำธุรกรรมผ่านธนาคารมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตของเงินฝากของธนาคารและยังเพิ่มโอกาสในการขายข้ามผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้นอีกด้วย
ในไตรมาส 2 สินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลและการเติบโตของสินเชื่อ ทั้งนี้ ธนาคารคาดว่า NPL Ratio ของปี 2561 จะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า ซึ่งธนาคารได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการติดตามดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิด และการพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกค้า ส่งผลให้การเก็บชำระหนี้ของลูกหนี้ธนาคารนั้นยังอยู่ภายใต้การควบคุมเป็นอย่างดี
ธนาคารคาดว่า Coverage Ratio ในระดับปัจจุบันนั้น มีความเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารและรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
ธนาคารได้เตรียมการเรื่องการบริหารจัดการสาขามาล่วงหน้าแล้วตั้งแต่ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยธนาคารได้พิจารณาถึงความเพียงพอของสาขาในแต่ละพื้นที่ ซึ่งธนาคารได้มุ่งเน้นและให้ความมั่นใจแก่ลูกค้าทุกท่านด้วยการจัดสาขาที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าในการเข้าถึงสาขาได้อย่างสะดวก ทั้งนี้ คาดว่าจำนวนสาขาของธนาคารในระดับปัจจุบันนั้นมีความเหมาะสมแล้ว นอกจากนี้ธนาคารได้มุ่งเน้นการพัฒนาบุคคลากรของธนาคารให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น เพื่อยกระดับการบริการและการให้คำแนะนำแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ธนาคารจะมีการดูแลเรื่องการบริหารจัดการสาขาอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละสาขานั้นมีความแตกต่างกัน อีกทั้งพฤติกรรมของลูกค้าในปัจจุบันมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ธนาคารมุ่งเน้นการเพิ่มสัดส่วนของสินเชื่อรายย่อยมากขึ้น โดยเฉพาะการขยายตัวของสินเชื่อเช่าซื้อทั้งจากรถยนต์ใหม่ รถยนต์เก่า และรถแลกเงิน รวมทั้งสินเชื่อ SME ขนาดเล็ก ซึ่งธนาคารคาดว่าจะได้รับอัตราผลตอบแทนที่ดีและเพิ่มโอกาสในการเป็น Main Bank ของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การเติบโตในสัดส่วนของ CASA ที่ดีขึ้น โดยในปีที่ผ่านมานั้น สินเชื่อรายย่อยของธนาคารขยายตัวได้อยู่ในเกณฑ์ดี จากการพัฒนาระบบ Scoring ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและพัฒนากระบวนการในการอนุมัติสินเชื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ด้านสินเชื่อธุรกิจ ธนาคารจะมุ่งเน้นที่บริษัทขนาดกลาง (Mid Cap) ที่มีศักยภาพและความแข็งแรงในการเติบโต ส่วนธุรกิจรายใหญ่ ธนาคารจะหันไปมุ่งเน้นเพิ่มกิจกรรมทางด้านตลาดทุนมากขึ้นให้กับลูกค้าธุรกิจ เพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้ากลุ่มนี้
ธนาคารคาดว่ารายได้จากการดำเนินงานสุทธิจะเติบโตได้ดี จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิตามการเติบโตของสินเชื่อและการบริหารส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ดีขึ้น ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในปี 2561 มีแนวโน้มเติบโตขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อน เนื่องจากฐานในปี 2560 มีระดับค่อนข้างสูง จากการที่กลุ่มธนชาตมีรายการพิเศษจากกำไรจากเงินลงทุนในการขายหุ้น MBK ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2560 ส่งผลให้อัตราส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Non-interest Income Ratio) จะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่ระดับ 30-31%
ธนาคารได้มีแผนในการปรับโครงสร้างองค์กรในปี 2560 ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากธนาคารได้มีการดำเนินการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างองค์กรที่เกิดขึ้นน้อยกว่าที่ธนาคารได้ตั้งประมาณการไว้และได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี ดังนั้น ในไตรมาส 4 ปี 2560 ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานในไตรมาส 4 จึงลดลง
ธนาคารมีผลประโยชน์ทางภาษีเหลืออยู่จำนวน 948 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2560 โดยจะสามารถนำผลประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวนี้ใช้ได้จนถึงไตรมาส 2 ปี 2561 ซึ่งเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
ธนาคารมีการดำเนินกลยุทธ์ในการพิจารณาความเสี่ยงในแต่ละกลุ่มลูกค้าอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาและเป็นการพิจารณาที่รวมความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตไว้แล้ว ส่งผลให้การวิเคราะห์คุณภาพของลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่อาจจะเกิดขึ้น
ในปัจจุบันธนาคารอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและวิเคราะห์จำนวนและตำแหน่งที่ตั้งของสาขาให้มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อจำนวนและความต้องการของลูกค้าในทุกกลุ่ม เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าของธนาคารสามารถเข้าถึงธนาคารได้อย่างสะดวก รวดเร็วและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าอย่างสูงสุด
ธนาคารมีแผนการดำเนินงานทางด้านดิจิตอลแบงก์กิ้ง โดยการพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการโยกย้ายธุรกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นผ่านเคาน์เตอร์ของธนาคารไปผ่านยังระบบดิจิตอล ซึ่งธนาคารจะมุ่งเน้นไปในธุรกรรมทางการเงินขนาดเล็ก ได้แก่ การฝาก ถอน โอน จ่าย ซึ่งเป็นรายการธุรกรรมทางการเงินขั้นพื้นฐาน ที่สามารถทำได้โดยสะดวกผ่านระบบดิจิตอล เป็นผลให้ธนาคารมีต้นทุนที่ลดลง และช่วยประหยัดเวลาให้ทั้งพนักงานและลูกค้าอีกด้วย ทั้งนี้ ธนาคารยังคงมุ่งเน้นในการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความปลอดภัย และมีเสถียรภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในการใช้บริการ
ธนาคารคาดว่าสินเชื่อเช่าซื้อจะยังคงขยายตัวได้ต่อไปทั้งสินเชื่อรถใหม่ รถเก่า และรถแลกเงิน โดยการเติบโตของสินเชื่อรถใหม่จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการออกโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายและการออกรถรุ่นใหม่ๆ ของค่ายรถยนต์ ด้านสินเชื่อรถเก่าจะมุ่งการเติบโตไปในบางประเภทรถ บางพื้นที่ หรือบางเต็นท์ ที่มีศักยภาพแข็งแรง รวมทั้งการใช้ประโยชน์จาก Blue Book ของธนาคารมากขึ้น ขณะที่สินเชื่อรถแลกเงิน ธนาคารจะมีการทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาดที่เพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองตลาดที่ยังมีความต้องการของสินเชื่อนี้อยู่
รายได้จากการรับประกันภัยเติบโตขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการบริหารจัดการต้นทุนและการบริหารการเคลมประกันอย่างมีประสิทธิภาพ การออกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า และการขยายช่องทางเพิ่มเติมอื่นๆให้ครอบคลุมตลาดได้กว้างขึ้น รวมทั้งการนำเสนอผลิตภัณฑ์บริการทางด้านดิจิตอล เช่น Thanachart Drive DD Application ส่งผลให้ธนาคารสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ดียิ่งขึ้นในตลาด ประกอบกับ การเพิ่มขึ้นของยอดขายรถยนต์ ดังนั้น รายได้จากการรับประกันภัยของธนาคารจึงเติบโตได้เพิ่มขึ้น
ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2560 ธนาคารมีผลประโยชน์ทางภาษีเหลืออยู่จำนวน 1,521 ล้านบาท ซึ่งธนาคารคาดว่าการใช้ผลประโยชน์ทางภาษีจะหมดลงในไตรมาส 2 ปี 2561 ตามแผนงานที่วางไว้
ธนาคารมีการติดตามดูแลในการบริหารจัดการสาขาอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ธนาคารจะสามารถปรับตัวได้ทันและเหมาะสมตามสถานการณ์ในปัจจุบันได้มากที่สุด ด้วยการเข้าใจความต้องการของลูกค้าในการใช้บริการทางด้านสาขาให้ลึกซึ่งมากยิ่งขึ้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการออกแบบรูปแบบสาขาใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าอย่างสูงสุด
บริษัทยังคงนโยบายการจ่ายเงินปันผลในแบบลักษณะ Progressive โดยบริษัทได้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลของปีนี้อยู่ที่หุ้นละ 0.90 บาท ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หุ้นละ 0.80 บาท ดังนั้น อัตราการจ่ายเงินปันผลต่อหุ้นของบริษัทในปี 2560 จะไม่ต่ำกว่า 2.10 บาท เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลอยู่ที่หุ้นละ 2.00 บาท
จากการศึกษาขั้นต้นของธนาคารในการพิจารณาถึงผลกระทบของ IFRS 9 นั้น ธนาคารมีสำรองอยู่ในระดับสูงเพียงพอที่จะรองรับเกณฑ์การตั้งสำรองตามมาตรฐาน IFRS 9 นอกจากนี้ในปัจจุบัน ธนาคารได้พัฒนาระบบเพื่อรองรับหลักเกณฑ์ IFRS 9 ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์และพร้อมใช้งานเพื่อรายงานให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตามกำหนดการ
ธนาคารคาดว่าสินเชื่อด้อยคุณภาพโดยรวมของธนาคารอาจจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามการเติบโตของสินเชื่อต่อไปในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีความมั่นใจว่าอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ธนาคารมีการบริหารจัดการหนี้ด้อยคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยนโยบายการปล่อยสินเชื่อที่มีความระมัดระวัง นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ดำเนินกลยุทธ์ด้วยการแบ่งแยกกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนเพื่อพิจารณาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นของแต่ละกลุ่มลูกค้า เพื่อให้การวิเคราะห์คุณภาพของลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดโอกาสการเกิดสินเชื่อด้อยคุณภาพให้มากที่สุด
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของธนาคารคาดว่าปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง จากการดำเนินนโยบายเชิงรุกในการมุ่งสู่การเป็นธนาคารหลัก (Main Bank) ของลูกค้า ด้วยการมุ่งเน้นการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ เพื่อให้ลูกค้ามาเปิดบัญชีและทำธุรกรรมกับธนาคารเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วนในบัญชีเงินฝากประเภท CASA มากขึ้น ประกอบกับในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 ธนาคารมีแผนที่จะไถ่ถอนตราสารด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 อีกด้วย ดังนั้น ธนาคารจึงคาดว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นได้จากการปรับตัวลดลงของต้นทุนทางการเงินของธนาคาร
ธนาคารยังคงมุ่งเน้นการเติบโตของสินเชื่อในทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารคาดว่าสินเชื่อเช่าซื้อจะยังคงขยายตัวได้ต่อไป ทั้งในสินเชื่อรถใหม่ สินเชื่อรถมือสอง และสินเชื่อรถแลกเงิน โดยสินเชื่อรถใหม่นั้น ธนาคารได้ดำเนินกลยุทธ์ในการเป็นพันธมิตรกับผู้ผลิตรถยนต์ในหลากหลายค่าย ประกอบด้วย เชฟโรเลต มาสด้า และวอลโว่ เพื่อสร้างโอกาสในการเพิ่มจำนวนฐานลูกค้าให้มากขึ้น ขณะที่สินเชื่อรถมือสองมีแนวโน้มปรับดีขึ้นจากราคารถมือสองที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติและความต้องการของรถมือสองที่เริ่มปรับเพิ่มขึ้น ส่วนสินเชื่อรถแลกเงินคาดว่ายังเติบโตได้ดีจากการปรับปรุงและพัฒนาระบบงานด้านเช่าซื้อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้านสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้มุ่งการเติบโตในบางกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความแข็งแกร่งและมีศักยภาพในการเติบโต ส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยคาดว่าจะขยายตัวได้ดี ตามการพัฒนาช่องทางการขายและการปรับปรุงระบบการอนุมัติสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานของธนาคารมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ตามประสิทธิผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานที่มีความสอดคล้องกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านระบบเทคโนโลยีที่ธนาคารได้ลงทุนไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับการสร้างความเชี่ยวชาญของพนักงานและการฝึกอบรมความรู้ให้แก่พนักงาน เพื่อให้ธนาคารสามารถสร้างความแตกต่างในการบริการลูกค้าและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าอย่างสูงสุด ดังนั้น ธนาคารจึงให้ความสำคัญในกระบวนการทำงานเพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การลดลงของค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานในระยะข้างหน้า และส่งผลให้อัตราส่วนต้นทุนจากการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
ธนาคารยังคงมุ่งเน้นการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นรายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต รายได้จากการทำ Trade Finance และรายได้ค่าธรรมเนียมผ่านการทำธุรกิจวาณิชธนกิจ ถึงแม้ว่ารายได้ค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรมทางการเงินอาจมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยตามการสอดรับนโยบายของรัฐบาลภายใต้แผน National E-Payment
ธนาคารยังคงมุ่งเน้นการเติบโตธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อในทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ทั้งรถใหม่ รถมือสอง รวมถึงรถแลกเงิน โดยธนาคารได้ให้ความสำคัญในการจัดกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน เพื่อส่งมอบบริการที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มมากที่สุด ประกอบกับการพัฒนามาตรการในการพิจารณาสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสินเชื่อรถใหม่ ธนาคารได้ขยายธุรกิจเข้าไปในกลุ่มลูกค้ารถยนต์ราคาสูง ด้วยการเป็นพันธมิตรกับผู้ผลิตรถยนต์บางรายเพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายฐานลูกค้าใหม่มากขึ้น ขณะที่สินเชื่อรถมือสองมีแนวโน้มปรับดีขึ้นจากราคารถมือสองที่เริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติและรถมือสองบางรุ่นที่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนสินเชื่อรถแลกเงินขยายตัวได้ดีจากการพัฒนาช่องทางการขายที่มีประสิทธิ
ธนาคารได้มุ่งเน้นขยายสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปในบางอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเติบโตและมีความแข็งแกร่ง เนื่องจากการเติบโตของ SME ยังคงถูกจำกัดตามภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีการทยอยฟื้นตัวและกระจุกตัวอยู่ในบางพื้นที่และบางธุรกิจ
ในไตรมาส 1 ปี 2560 ธนาคารมี Credit Cost อยู่ที่ 0.52% อย่างไรก็ตาม ธนาคารคาดว่า Credit Cost ในปี 2560 จะอยู่ที่ประมาณ 0.60 - 0.70% โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของสินเชื่อ ทั้งนี้ ธนาคารคาดว่าจะไม่มีการตั้งสำรองส่วนเพิ่มในอนาคต เนื่องจาก ปัจจุบันธนาคารมี Coverage Ratio ในงบการเงินรวมอยู่ในระดับที่สูงและแข็งแกร่งที่ 156.82%
ธนาคารยังคงมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปีนี้และปีหน้า ธนาคารคาดว่าจะเน้นการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีและการบริการเพื่อมุ่งสู่การเป็นดิจิตอลแบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบ โดยในการลงทุนดังกล่าวจะนำไปพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ดังนี้ 1. การพัฒนาด้านการบริการดิจิตอล ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติของรัฐบาล (National e-payment) ได้แก่ ระบบพร้อมเพย์ และภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการลงทุนอยู่ประมาณ 30% 2. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบเทคโนโลยี และความปลอดภัยของระบบ รวมทั้งเพื่อรองรับกฏเกณฑ์มาตรฐานตามที่ทางการกำหนด ซึ่งให้สัดส่วนการลงทุนอยู่ที่ 30% ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 40% จะเป็นการนำไปพัฒนาด้านสาขาและการบริการลูกค้าเป็นหลัก เพื่อปรับรูปแบบสาขาและการเพิ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รองรับการบริการแบบเซลฟ์เซอร์วิส (Self-service) ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มในการทำธุรกรรมด้วยตนเองมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้ การลงทุนทางด้านเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ธนาคารพิจารณาที่จะนำผลประโยชน์ทางภาษีบางส่วนมารองรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ซึ่งจะไม่กระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร รวมทั้งการปรับรูปแบบการบริการให้มุ่งสู่การเป็นดิจิตอลแบงกิ้ง จะนำไปสู่การบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคตอีกด้วย (Cost Efficiency)
ในปี 2560 ธนาคารคาดว่าสินเชื่อในทุกกลุ่มจะสามารถขยายตัวได้ดีขึ้นจากปีก่อน โดยสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะมุ่งเน้นการเติบโตไปในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งแกร่งและมีศักยภาพในการเติบโตได้ดี ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยจะสามารถขยายตัวได้ดีขึ้นด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของช่องทางการขายประกอบกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น ด้านสินเชื่อเช่าซื้อคาดว่าจะเติบโตได้ทั้งจากรถยนต์ใหม่และรถยนต์เก่าที่มีการพัฒนามาตรการในการให้สินเชื่อที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ณ สิ้นปี 2559 ธนาคารมีผลประโยชน์ทางภาษีเหลืออยู่จำนวน 2,934 ล้านบาท ทั้งนี้ ธนาคารมีแนวโน้มที่จะนำผลประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวมารองรับการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีด้วยการพัฒนาช่องทางการให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของธนาคารในการแข่งขันในยุคดิจิตอลแบงกิ้ง พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุดเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรของธนาคารได้ดียิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามธนาคารกำลังอยู่ในขั้นพิจารณาทบทวนนโยบายการใช้ผลประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว
ธนาคารยังคงมุ่งเน้นการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นหลักด้วยการจัดวางทรัพยากรบุคคลให้มีความเหมาะสมกับปริมาณธุรกรรม พร้อมทั้งปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้อยู่ในระดับเหมาะสมได้อย่างยั่งยืน
จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่มีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ธนาคารจึงได้ดำเนินการบริหารจัดการหนี้ด้อยคุณภาพด้วยความระมัดระวังจากนโยบายการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น รวมทั้งมีแผนการจัดการที่แบ่งแยกแต่ละกลุ่มลูกหนี้ที่ชัดเจน การติดตามลูกหนี้อย่างใกล้ชิด และการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้อาจมีปัญหาทางด้านการเงิน จึงส่งผลให้ธนาคารมีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลงมาอยู่ที่ 2.29% จากสิ้นปีก่อนที่ 2.84% ทั้งนี้ในปี 2560 ธนาคารได้มุ่งเน้นการเติบโตของสินเชื่อเป็นหลัก ซึ่งอาจส่งผลให้สินเชื่อด้อยคุณภาพปรับเพิ่มขึ้นบ้างตามการขยายตัวของสินเชื่อ แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารจะยังคงรักษาระดับอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพให้อยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับปีก่อน
ด้วยภาวะอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันที่มีทิศทางปรับเพิ่มขึ้น ธนาคารจึงมุ่งเน้นที่จะเพิ่มสัดส่วนเงินฝากประเภทกระแสรายวันและเงินรับฝากประเภทออมทรัพย์ (CASA) ต่อเงินรับฝากให้สูงขึ้น ประกอบกับการเพิ่มระยะเวลาของเงินฝากประจำให้มีระยะยาวมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนเงินฝากของธนาคารมีเสถียรภาพและมีแนวโน้มลดลงได้ ในขณะเดียวกันธนาคารจะมีพิจารณาอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อให้มีความเหมาะสมเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในอุตสาหกรรม
ธนาคารมุ่งเน้นที่จะเพิ่มสัดส่วนเงินฝากประเภทกระแสรายวันและเงินรับฝากประเภทออมทรัพย์ (CASA) ต่อเงินรับฝากให้สูงขึ้น ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกๆกลุ่ม เพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้ธนาคารธนชาตเป็นธนาคารหลักในการทำธุรกรรม (main bank) พร้อมทั้งการเพิ่มช่องทางการทำธุรกรรมให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น สร้างความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าให้สามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ทุกเวลา ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2559 ธนาคารมีสัดส่วน CASA ต่อเงินรับฝากอยู่ที่ 46.76% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสิ้นปี 2558 ที่ 40.14%
ขณะนี้ธนาคารยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีการบังคับใช้ในปี 2562 ทั้งนี้ ในขั้นต้น ธนาคารได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วยการตั้งสำรองพิเศษเพิ่มเติมมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ณ สิ้นไตรมาส 3 ธนาคารมี Coverage Ratio ในงบการเงินรวมอยู่ที่ 136.31% และในงบการเงินเฉพาะธนาคารที่ 147.91% ซึ่งคาดว่าจะเพียงพอและไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคาร
ณ สิ้นไตรมาส 3 ธนาคารมีผลประโยชน์ทางภาษีคงเหลืออยู่ที่ 3,343 ล้านบาท ซึ่งธนาคารคาดว่าจะสามารถใช้ผลประโยชน์ทางภาษีได้หมดในกลางปี 2561 ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร โดยในปี 2559 ธนาคารพิจารณาที่จะนำผลประโยชน์ทางภาษีมาตั้งสำรองเพิ่มเติมครึ่งหนึ่ง และส่วนที่เหลือจะนำมารับรู้เป็นกำไร อย่างไรก็ดี ในปี 2560 ธนาคารอาจมีการทบทวนนโยบายการใช้ผลประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว
ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2559 อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งหมดต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารและบริษัทย่อยอยู่ที่ 129.01% ขณะที่งบการเงินเฉพาะธนาคาร อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งหมดต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพอยู่ที่ 139.24% ถือว่าเป็นระดับที่สูงและเพียงพอ ส่วนในช่วงครึ่งปีหลัง ธนาคารคาดว่าจะยังคงมีการตั้งสำรองส่วนเพิ่ม เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ด้านมาตรฐานรายงานทางการเงินระหว่างประเทศฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (IFRS 9) ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2561 โดยจะมีผลต่อการคำนวณสำรองของธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในขั้นต้นคาดว่าระดับการตั้งสำรองที่มีอยู่ในขณะนี้น่าจะเพียงพอและไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินธ
ธนาคารยังคงมุ่งเน้นการเติบโตของสินเชื่อทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง โดยสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารได้มุ่งเน้นขยายสินเชื่อในบางอุตสาหกรรมที่ยังมีศักยภาพในการเติบโต เพื่อให้ได้มาซึ่งอัตราผลตอบแทนที่ดี และนำไปสู่การเพิ่มสัดส่วนของการขายข้ามผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้น ขณะที่ด้านสินเชื่อเช่าซื้อ รถยนต์ ธนาคารได้ขยายธุรกิจไปในกลุ่มลูกค้ารถยนต์ราคาสูง มีการพัฒนาระบบ scoring ให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น รวมถึงการเป็นพันธมิตรกับผู้ผลิตรถยนต์บางรายเพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจ ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารคาดว่าจะเติบโตสินเชื่อด้วยการพัฒนาช่องทางการขาย และปรับปรุงระบบการอนุมัติสินเชื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังคงให้ความสำคัญในการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ควบคู่ไปกับการเติบโตของสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ธนาคาร มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการให้บริการอย่างครบวงจร เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในการใช้ธนาคารธนชาตเป็นธนาคารหลักในการทำธุรกรรมของลูกค้า (operating account) ซึ่งจะนำไปสู่การขยายฐานลูกค้าและลดต้นทุนทางการเงิน ส่งผลให้รายได้ของธนาคารสามารถเติบโตในระยะยาวได้อย่างมั่นคง
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้สินเชื่อของธนาคารปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกัน เนื่องจากธนาคารมีการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินได้เป็นอย่างดี เป็นผลให้ธนาคารยังคงสามารถรักษาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยได้ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของธนาคารสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพอย่างเป็นระบบ จึงทำให้ Credit Cost จากการดำเนินงานปกติลดต่ำลง นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารจะยังคงรักษาการเติบโตของกำไรสุทธิให้เติบโตต่อเนื่องด้วยนโยบายการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงิน การบริหารคุณภาพสินทรัพย์ให้ดียิ่งขึ้น และการควบ
ธนาคารมีแนวโน้มที่จะคงนโยบายการใช้ผลประโยชน์ทางภาษีต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าส่วนหนึ่งจะนำมาใช้ในการตั้งสำรองเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะนำมารับรู้เป็นกำไร
ธนาคารเล็งเห็นว่า การเปลี่ยนผ่านการเข้าสู่ยุคดิจิตอลนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากปัจจุบันโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลมากขึ้น เช่นเดียวกับภาครัฐที่มีนโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อีกทั้ง เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรา โดยธนาคารคาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมอาจจะลดลงบ้างเล็กน้อยในระยะสั้น แต่ในระยะยาว ด้วยการบริการลูกค้าที่มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ผ่านการมุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้สามารถทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลา จะทำให้ธนาคารมีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นและเติบโตไปพร้อมกับจำนวนธุรกรรมของลูกค้ากับธนาคารที่มากขึ้น (Transaction Banking) นอกจากนี้ ธนาคารจะสามารถลดต้นทุนได้ในระยะยาวอีกด้วย นับเป็นการเสริม
ในการลงทุนโครงการ Digital Banking ธนาคารคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นในรูปแบบค่าใช้จ่ายตัดจำหน่าย (Amortization) ซึ่งโครงการ Digital Banking ดังกล่าวจะช่วยให้การทำธุรกรรมต่างๆ ของธนาคารเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น รวมทั้งจะสามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่ๆให้หันมาใช้บริการกับธนาคารได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลให้นำไปสู่การเพิ่มสัดส่วนที่สูงขึ้นของ CASA และท้ายที่สุดจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของค่าธรรมเนียมของธนาคารและการบริการลูกค้าที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จากสภาพเศรษฐกิจที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ธนาคารจึงต้องปรับการดำเนินงานให้เหมาะสมต่อสภาวะตลาดที่เปลี่ยนไป ด้วยการรวมสาขาที่ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน โดยจะเริ่มดำเนินการจากย่านธุรกิจในเมืองเป็นลำดับแรก ซึ่งจะเป็นการช่วยลด
ธนาคารมีผลขาดทุนทางภาษี ณ สิ้นปี 2558 จำนวน 25,326 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นผลประโยชน์ทางภาษี จำนวน 5,065 ล้านบาท ซึ่งในปี 2558 ธนาคารได้นำผลขาดทุนทางภาษีมาใช้ในการตั้งสำรองเพิ่มเติมเป็นจำนวน 2,216 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้เล็งเห็นว่า ท่ามกลางความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น การสร้างความแข็งแกร่งของธนาคารเป็นนโยบายหลักที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจธนาคาร ดังนั้น ธนาคารจึงมีแผนจะนำผลขาดทุนทางภาษีดังกล่าวนำมาตั้งสำรองเพิ่มเติมส่วนหนึ่ง และนำมารับรู้เป็นกำไรอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารในระยะยาว
TCAP คาดว่าการจัดการทรัพย์สินรอการขายนั้นจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาวะตลาด โดยทรัพย์สินรอการขายส่วนใหญ่นั้นเป็นทรัพย์สินรอการขายที่ค่อนข้างมีศักยภาพ ดังนั้น การจัดการทรัพย์สินรอการขายของ TCAP จึงเป็นไปตามภาวะของตลาดที่เอื้ออำนวย ซึ่งจะมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าของสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ
ธนาคารจะยังคงมุ่งเน้นในการเติบโตของสินเชื่อในทุกกลุ่มต่อไป โดยสินเชื่อเช่าซื้อของธนาคาร เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวเล็กน้อยจากภาวะชะลอตัวของตลาดรถยนต์ที่เริ่มลดลง นอกจากนี้ ธนาคารได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเช่าซื้อและมาตรการในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของสินเชื่อในอนาคตและเพิ่มโอกาสในการขายข้ามผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้น ขณะที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารคาดว่าจะเติบโตดีขึ้นด้วยการพัฒนาระบบช่องทางการขายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนด้านสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะมุ่งเน้นการเติบโตในบางพื้นที่ บางอุตสาหกรรม ที่มีความแข็งแกร่ง รวมทั้งการขยายการเติบโตไปในส่วนที่เกี่
ธนาคารได้ให้ความสำคัญต่อการขยายตัวของรายได้ค่าธรรมเนียมอย่างต่อเนื่อง โดยด้านธุรกิจรายย่อย ธนาคารได้วางระบบโครงสร้างพื้นฐานและการฝึกอบรมพนักงานในการใช้เครื่องมือ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารให้มีความหลากหลายและเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะนำไปสู่การสนับสนุนให้ลูกค้ามาทำธุรกรรมกับธนาคารได้มากยิ่งขึ้น ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต ยังคงสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง ด้วยการขยายช่องทางการขายที่มากขึ้น ส่วนด้านธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารได้มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมผ่านการทำธุรกิจวาณิชธนกิจ เช่น การเป็นผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ หรือ การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ (Trade Finance) โดยมุ่งเน้นไปที่บริษัทขนาดกลางเป็นหลัก
ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจในปีนี้ที่ยังไม่ฟื้นตัวและไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ ธนาคารคาดว่าสินเชื่อในปีนี้จะเติบโตติดลบ ถึงแม้ว่าการเติบโตของสินเชื่อในไตรมาส 3 ที่ผ่านมาและไตรมาส 4 จะเริ่มมีสัญญาณ การปรับตัวดีขึ้น ส่วนปีหน้าสินเชื่อมีแนวโน้มที่จะเติบโตดีขึ้นจากปีนี้ตามการเติบโตของสินเชื่ออื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสินเชื่อบ้าน ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อมีแนวโน้มเติบโต ติดลบต่อเนื่องจากปีนี้ในช่วงแรก ซึ่งขณะนี้ธนาคารอยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดทำแผนธุรกิจของปีหน้าและตัวเลขการเติบโตในด้านต่าง ๆ
ธนาคารคาดว่าอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพมีแนวโน้มลดลงจากการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพอย่าง มีประสิทธิภาพ โดยธนาคารและบริษัทย่อยมีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลงต่อเนื่องจากไตรมาส 3 ปีก่อน ที่ร้อยละ 4.53 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.42 ณ สิ้นไตรมาส 3 ปีนี้ ทั้งนี้ ธนาคารมีแผนในการดำเนินงานหลายมาตรการที่จะส่งผลให้สินเชื่อด้อยคุณภาพลดลง ทั้งการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การขายหนี้ และการตัดหนี้สูญ (write off) ด้วยการบริหารจัดการหนี้ด้อยคุณภาพดังกล่าว ประกอบกับนโยบายการปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่มี ความระมัดระวัง ส่งผลให้การเกิดสินเชื่อด้อยคุณภาพมีแนวโน้มต่ำลง ทั้งหมดนี้จะทำให้ธนาคารคาดว่าอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารจะสามารถลดลงได้ต่ำกว่าร้อยละ 3 เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ในปีหน้า
ธนาคารได้ให้ความสำคัญในการเติบโตทางด้านเงินฝากของธนาคาร โดยธนาคารได้มุ่งเน้นการออกผลิตภัณฑ์และบริการที่จะให้ลูกค้ามาเปิดบัญชีและทำธุรกรรมกับธนาคารเพิ่มขึ้น เพื่อขยายสัดส่วนในบัญชีเงินฝากประเภท CASA ให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนเงินฝากของธนาคารลดลง และเพื่อรองรับหลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มบังคับใช้ในปีหน้า
จากการชำระบัญชีของบริษัท สคิป จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้เสร็จสิ้นในไตรมาส 2 ของปีนี้ ส่งผลให้ ธนาคารมี ผลขาดทุนทางภาษีจากเงินลงทุนในบริษัทย่อยคงเหลือจำนวน 27,723 ล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2558 ประกอบกับ ธนาคารได้เล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อ การทำธุรกิจของธนาคารในอนาคต ได้แก่ 1. การปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เสี่ยงด้านเครดิต ซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่เปลี่ยนไป 2. มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (IFRS 9) โดยสภาวิชาชีพบัญชีมีแผนที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย ปี 2562 ซึ่งจะมีผลต่อการคำนวณเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น ธนาคารจึงได้เตรียมวางแผนเพื่อรองรับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านเงินกองทุนและมาตรฐานบัญชีในรูปแบบใหม่ โดยการใช้ผลขาดทุนทางภาษีดังกล่าวมาใช้ในการตั้งสำรองเพิ่มเติมส่วนหนึ่ง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะรับรู้เป็นกำไรเพื่อเพิ่มเงินกองทุนของธนาคารให้แข็งแกร่ง ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจของธนาคารอย่างมั่นคงในระยะยาว
ธนาคารยังคงรักษาความเป็นผู้นำทางด้านสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ในขณะเดียวกัน ธนาคารได้มุ่งเน้นขยายการเติบโตของสินเชื่อประเภทอื่นๆ ได้แก่ สินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมุ่งเน้นการเติบโตในบางอุตสาหกรรมและบางพื้นที่ที่ยังมีความแข็งแกร่งและมีศูนย์ธุรกิจเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการบริการของลูกค้ามากขึ้น
ธนาคารได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบ Digital Banking โดยได้มุ่งเน้นระบบที่มีมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลที่นำมาจาก Scotiabank และส่งพนักงานเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมให้มีความเชี่ยวชาญและมีศักยภาพมากขึ้น เพื่อจะนำมาซึ่ง CASA และรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคารที่ดีขึ้นต่อไปในอนาคต โดยธนาคารคาดว่า ระบบ Mobile Banking จะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณสิ้นไตรมาส 3 ของปีนี้ นอกจากนี้บริษัทในเครือของธนาคารธนชาตได้พัฒนาเครื่องมือทางเทคนิค เพื่อตอบสนองในการบริการลูกค้าที่ดีขึ้น
ธนาคารมีแผนที่จะไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Tier 1) ที่ถูกนับลดตามเกณฑ์การทยอยนับลดของ Basel III และออกตราสารทุนที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common Equity Tier 1) ทดแทน จำนวนประมาณ 5,000 ล้านบาท ประมาณไตรมาส 4 ปี 2558 สำหรับเงินกองทุนชั้นที่ 2 ธนาคารได้ออกตราสารด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 (Tier II – Write down) จำนวน 7,000 ล้านบาทในเดือน พฤษภาคม 2558 เพื่อทดแทนตราสารหนี้ด้อยสิทธิ 2 ชุดที่ไม่สามารถนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ตามเกณฑ์ Basel III ซึ่งมีจำนวนรวมกัน 11,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้เงินกองทุนของธนาคารยังคงอยู่ในระดับสูงและมีความแข็งแกร่ง
ธนาคารยังคงมุ่งเน้นการบริหารจัดการสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารอย่างต่อเนื่องจากปี 2557 โดยมีกลยุทธ์กระบวนการติดตามหนี้อย่างใกล้ชิดโดยพิจารณาตามความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละราย การปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าบางรายที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการขายหนี้ออกบางส่วน ซึ่งธนาคารคาดว่าสินเชื่อด้อยคุณภาพและอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL ratio) จะปรับลดลง ส่งผลให้อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพที่เป็นงบการเงินเฉพาะกิจการของธนาคาร (Coverage Ratio of the Bank Only) มีแนวโน้มปรับดีขึ้นตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ร้อยละ 100 นอกจากนี้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองของธนาคาร (Credit Cost) มีแนวโน้มลดลงตามการบริหารสินทรัพย์อย่างมีคุณภาพ
ธนาคารคาดว่าสินเชื่อเติบโตประมาณร้อยละ 2-4 จากปีก่อน โดยสินเชื่อเช่าซื้อยังคงมีการเติบโตติดลบ เนื่องจากในแต่ละเดือนการชำระคืนเงินต้นของลูกค้าสินเชื่อเช่าซื้อมีจำนวนค่อนข้างสูงและมากกว่าการปล่อยสินเชื่อใหม่ซึ่งมีแนวโน้มลดลงตามการแข่งขันที่รุนแรงจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่มีการทำธุรกิจเช่าซื้อด้วยการกระตุ้นการทำโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมคาดว่าจะสามารถเติบโตได้ร้อยละ 8-10 โดยสินเชื่อธุรกิจยังมีการเติบโตจากฐานธุรกิจที่แข็งแกร่ง ขณะที่สินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ยังสามารถเติบโตได้ในบางพื้นที่และบางอุตสาหกรรม ส่วนสินเชื่อวิสาหกิจขนาดเล็ก ธนาคารยังคงมุ่งเน้นในการทำผ่านเครือข่ายสาขาอย่างต่อเนื่อง
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามการบริหารต้นทุนทางการเงินอย่างเหมาะสม ธนาคารปรับกลยุทธ์โดยชักชวนให้ลูกค้ามาเปิดและใช้บัญชีกระแสรายวันและออมทรัพย์ของธนาคารมากขึ้น ขณะที่ธนาคารคาดการณ์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามการฟื้นตัวอย่างช้าๆของเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นผลดีต่อต้นทุนทางการเงินของธนาคารในอีกทางหนึ่ง
ธนาคารยังคงมุ่งเน้นการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมต่างๆมากขึ้น ได้แก่ รายได้ค่าธรรมเนียมจากบริการบัตรเอทีเอ็ม รายได้ค่าธรรมเนียมจากกลุ่มลูกค้าธุรกิจ กลุ่มให้คำปรึกษาด้านการเงินธุรกิจและกลุ่มวาณิชธนกิจ
ธนาคารยังคงมุ่งเน้นการลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากความพยายามการนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพและทันสมัยยิ่งขึ้นเพื่อลดความซับซ้อนของขั้นตอนและให้บริการลูกค้าได้รวดเร็วมากขึ้น
เนื่องจากกลุ่มธนชาตมีกลยุทธ์ในการบริหารสภาพคล่องทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ และสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมแก่ผู้ถือหุ้น ปัจจุบันบริษัทฯ มีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่จำนวนหนึ่ง ประกอบกับ บริษัทฯและธนาคารธนชาตมีเงินกองทุนในระดับสูงเพียงพอต่อการขยายธุรกิจในอนาคต กลุ่มธนชาตจึงเห็นสมควรในการเข้าซื้อหุ้นคืนเพื่อการบริหารสภาพคล่อง ซึ่งจะส่งผลให้กำไรต่อหุ้นดีขึ้นและผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
สินเชื่อด้อยคุณภาพมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากธนาคารยังคงเน้นในเรื่องการบริหารจัดการสินเชื่อด้อยคุณภาพให้มีประสิทธิภาพท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีแผนการจัดการที่แบ่งแยกแต่ละกลุ่มลูกหนี้ที่ชัดเจน การติดตามลูกหนี้อย่างใกล้ชิด และการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้อาจมีปัญหาทางด้านการเงินจากผลกระทบภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่หดตัวและภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามธนาคารคาดว่าหากภาวะเศรษฐกิจมีทิศทางฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นและการดำเนินกลยุทธ์ตามแผนงานของธนาคารจะช่วยลดการเกิดหนี้เสียเป็นผลให้อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพปรับตัวลดลงและเป็น
ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองมีแนวโน้มที่ลดลงตามการปรับนโยบายการปล่อยสินเชื่อที่สอดรับกับภาวะเศรษฐกิจ เป็นผลให้การไหลตกชั้นของลูกหนี้ลดลง นอกจากนี้ธนาคารได้มีการดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิด ทั้งกระบวนการติดตามหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้บางส่วน ส่งผลให้ทิศทางการตั้งสำรองในอนาคตปรับตัวลดลง
สินเชื่อในปีนี้คงจะไม่มีการเติบโต เนื่องจากสินเชื่อเช่าซื้อยังคงเติบโตติดลบ เพราะ
อย่างไรก็ตาม ธนาคารคาดว่าจะสามารถชดเชยการเติบโตของสินเชื่อได้บางส่วนจากสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก (SME – S)
สถานการณ์การแข่งขันทางด้านเงินฝากมีแนวโน้มไม่รุนแรงมากนักซึ่งสอดคล้องกับภาวะการชะลอตัวของสินเชื่อ และภาพรวมของตลาดที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยังคงอยู่ในระดับนี้สักระยะหนึ่งเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ธนาคารจึงมุ่งเน้นไปที่การนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากที่เหมาะสมกับความต้องการในตลาดและเน้นการขยายตัวในบัญชีเงินฝากประเภท CASA มากขึ้น เพื่อรองรับการทำธุรกรรมของลูกค้ากลุ่มนี้
ในช่วงที่ผ่านมาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารที่เพิ่มขึ้นมาจากสินเชื่อเช่าซื้อรถมือสองเป็นหลัก โดยเป็นผลกระทบมาจากโครงการรถคันแรกที่ส่งผลให้ราคารถมือสองลดลง ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ปล่อยภายใต้นโยบายสินเชื่อของธนาคารเกิดหนี้เสียขึ้นเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามภายใต้นโยบายการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ที่เข้มงวดขึ้นของกลุ่มธนชาตตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีก่อน ธนาคารคาดว่าอัตราการเพิ่มของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในครึ่งปีหลังน่าจะลดลง รวมทั้งธนาคารยังคงเป้าหมายต่อเนื่องที่จะลดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ให้ต่ำลง
การตั้งสำรองของธนาคารในครึ่งปีหลังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เนื่องจาก การตั้งสำรองขาดทุนจากการขายรถยึดมีแนวโน้มดีขึ้น โดยในช่วงที่ผ่านมาธนาคารมีการยึดรถเพิ่มขึ้นและเร่งประมูลขายรถออกไปให้เร็ว อีกทั้งนโยบายการปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่เข้มงวดและเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัว จะเป็นผลให้อัตราการตกชั้นของลูกหนี้ลดลง และเกิดหนี้เสียลดลง
สินเชื่อเช่าซื้อน่าจะหดตัวลง เนื่องจากยอดขายรถยนต์ได้ชะลอตัว อย่างไรก็ตามคาดว่า สินเชื่อน่าจะเติบโตได้จากสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นหลัก โดยสินเชื่อธุรกิจยังมีความต้องการในการขออนุมัติสินเชื่อและการเบิกเงินกู้ของลูกค้า ส่วนสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมุ่งเน้นลูกค้าเก่าซึ่งส่วนมากจะเป็นธุรกิจอาหารและบริการที่นำไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนหรือขยายธุรกิจ ในขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยคาดว่ายังเติบโตตามการรอโอนโครงการใหม่ๆอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง
การแข่งขันทางด้านเงินฝากของธนาคารน่าจะไม่มีความรุนแรงในครึ่งปีหลัง เนื่องจากธนาคารคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะมีนโยบายในการรักษาสภาพคล่องในตลาดให้อยู่ในเกณฑ์ที่สูงและธนาคารของรัฐยังไม่มีความต้องการใช้เงินเป็นจำนวนมากในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังมีต้นทุนเงินฝากที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่ เนื่องจากธนาคารขนาดใหญ่มีสัดส่วนของ CASA สูงถึงร้อยละ 50-60 ของเงินฝาก ดังนั้นธนาคารมีแผนในการลดต้นทุนเงินฝาก โดยมุ่งเน้นในการเพิ่มสัดส่วน CASA ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยการชักชวนลูกค้าสินเชื่อให้เปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคารมากขึ้น
ธนาคารคาดว่ารายได้ค่าธรรมเนียมมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าในไตรมาสก่อน รายได้ดังกล่าวอาจจะลดลงไปบ้างเล็กน้อยตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงเนื่องจากสถานการณ์การเมืองในประเทศ อย่างไรก็ตามธนาคารยังคงมุ่งเน้นการสนับสนุนรายได้ค่าธรรมเนียมต่างๆเพิ่มมากขึ้น อาทิเช่น ค่าธรรมเนียมจากบริการบัตรเอทีเอ็มและค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต อีกทั้งธนาคารได้มุ่งเน้นที่จะขยายไปทางด้านธุรกิจจากการทำ Letter of Credit (L/C), Trust Receipt (T/R) และ การทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ (FX) ให้มากขึ้นเช่นกัน
ธนาคารยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ดีจากการนำเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยเสริมเพื่อลดความซับซ้อนในขั้นตอนการทำงานและสร้างกระบวนการทำงานให้เป็นระบบมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและการลดลงของต้นทุนอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2557 ธนาคารมุ่งเน้นที่จะให้มีการเติบโตในสินเชื่อธุรกิจขนาดกลาง สินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งธนาคารมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีนโยบายในการหาลูกค้าตามประเภทธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโต และลูกค้าเก่าที่มีประวัติดี สำหรับสินเชื่อเช่าซื้อมีการรับชำระคืนจากลูกหนี้เพิ่มขึ้น จึงทำให้การเติบโตของสินเชื่อเช่าซื้อในปีนี้คงไม่สูงเหมือนปีที่ผ่านๆมา ในขณะที่สินเชื่อรายย่อยอื่นๆที่ไม่ใช่สินเชื่อเช่าซื้อ ธนาคารมุ่งเน้นที่จะเพิ่มการเติบโตขึ้น และธนาคารมีระบบ Scoring ในการอนุมัติสินเชื่อรายย่อยรวมทั้งสินเชื่อวิสาหกิจขนาดย่อม (SME S) ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการอนุมัติและควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การบรรลุเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อที่ร้อย
เรื่อง Internet Banking สโกเทียแบงก์ได้นำระบบ Internet Banking มาใช้กับธนาคาร โดยดำเนินการติดตั้งแทนระบบเดิม ซึ่งระบบของสโกเทียแบงก์มีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐานระดับสากลและมีความปลอดภัยสูง ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้ามั่นใจกับการทำธุรกรรม Online กับธนาคารมากขึ้น โดยยังอยู่ในระหว่างดำเนินการลงระบบ และจะมีทั้งระบบ Internet Banking สำหรับลูกค้ารายย่อยและครอบคลุมไปถึง Internet Banking ของลูกค้ารายใหญ่สำหรับการทำ Cash Management ด้วย
ในเรื่อง One Account See Through ธนาคารมีระบบ CEM (Customer Experience Management) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยให้พนักงานสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทราบว่าลูกค้ามีการใช้บริการธนาคารด้านใดบ้าง ควรจะนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใดให้แก่ลูกค้า เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและตอบสนองความต้องการทางการเงินของลูกค้าได้อย่างตรงจุด
ค่าใช้จ่ายสำรองในปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 0.73 ของสินเชื่อ ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจเช่าซื้อ แต่ธนาคารเชื่อว่าจากนโยบายการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้นจะทำให้ Credit Cost ในปี 2557 จะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.60 (รวมขาดทุนจากการขายรถยึด) ธนาคารประมาณการว่าในปี 2557 นี้จะมี Credit Cost ลดลง จากการตั้งสำรองลดลง เนื่องจาก
ในปี 2556 ขาดทุนจากการขายรถยึดเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2555 เนื่องจากราคารถมือสองปรับตัวลดลงตามภาวะตลาดรถยนต์มือสองที่มีอุปสงค์และอุปทานไม่สมดุลย์กัน
ณ 31 ธันวาคม 2556 กลุ่มธนชาตมี Coverage Ratio อยู่ที่ร้อยละ 82.61 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาอัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อตามงบการเงินรวม ธนาคารมีอัตราดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 3.81 ซึ่งแบ่งเป็นอัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของสินเชื่อเช่าซื้อที่ร้อยละ 2.22 และมีอัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของสินเชื่ออื่นที่ไม่รวมสินเชื่อเช่าซื้อ อยู่ที่ร้อยละ 5.77 แต่เนื่องจากสินเชื่อเช่าซื้อคิดเป็นร้อยละ 55.28 ของสินเชื่อรวมของธนาคาร ส่งผลให้อัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 3.81 ดังกล่าว ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าธนาคารมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เพียงพอ